วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ขอแสดงความดีใจกับ บ.โสกคูณ ต.ห้วยเกิ้ง จ.อุดรธานี ที่ได้รับรางวัลร้องสารพัญ ในวันที่ 28 ก.ย 2558 บ้านโคกผักหวานได้มีการประกวดร้องสารพัญ เพื่อประสานน้ำใจในแต่ละหมู่บ้านให้เกิดความรักความสามักคัญ  หมู่บ้านที่ชนะ คือ บ.โสกคูณ ได้รางวัลที่หนึ่ง ในเขต อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

เมื่อเวลา09:10 วันที่16/9/58 ศูนย์รับแจ้งเหตุกู้ภัยประชาธรรมกุมภวาปี ได้รับแจ้งเหตุว40 จักรยานยนต์+รถบรรทุก เสียชีวิตบ้านโนนรังษี ต.ห้วยเกิ้งอ.กุมภวาปี จ.อุดร รถกู้ภัยคันที่1มร้อมรถอาสาสมัคร024 ออกตรวจสอบเบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตเป็นชาย1ราย กู้ภัยได้นำผู้เสียชีวิตส่งร.พกุมภวาปี   
                                        

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

โครงการ ฝึกอบรมผู้นำคุณธรรมและหลักปัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมเข้าค่ายธรรมมะ

กิจกรรม อบรม โครงการส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถาณศึกาษา
วันนี้ เมื่อเวลา 05.30 น. ได้รับแจ้งเหตุรถตู้เสียพลิกคว่ำบนทางหลวงหมาย 2 บริเวณ บ้านจำปา ต.ปะโค อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
โครงการพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน
    เทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี


       

ประวัติแอดมิด

 

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ  นางสาวอำพร  พรมบัวคู 
ชื่อเล่น  ปอ  
เกิดเมื่อ  วันที่ 27 ตุลาคม 2537
ที่อยู่  27/2 บ.โสกคูณ ต.ห้วยเกิ้ง อ.กุมภวาปี
จ.อุดรธานี  41110
งานอดิเรก    ฟังเพลง , เล่นโซเซียล
ความใฝ่ฝัน อยากเป็นนักเขียน
 
ประวัติการศึกษา
 2549 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนห้วยเกิ้ง   ตำบลห้วยเกิ้ง  อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.2552 สำเร็จการศึกษาระดับสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนห้วยเกิ้ง
ตำบลห้วยเกิ้ง  อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.2555 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนห้วยเกิ้ง
ตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.2558 กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 3 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

 

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ตำบลห้วยเกิ้งมีกิจกรรมร่วมกับอำเภอกุมภวาปี

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดผลกระทบในทางลบน้อยที่สุด แนวคิดนี้ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา โดยได้รับความสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ และองค์การการท่องเที่ยวโลก ประเทศไทยก็ได้รับเอาแนวคิดนี้มาศึกษา และดำเนินการจนปรากฏผลเป็นรูปธรรมมากพอสมควร
          จากการศึกษาถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า มีทั้งผลกระทบในทางบวก และผลกระทบในทางลบ
          ผลกระทบในทางบวก คือ ทำให้เกิดรายได้จากการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจากการส่งสินค้าออก นอกจากนี้ เงินที่นักท่องเที่ยวนำไปจับจ่ายใช้สอยย่อมกระจายไปสู่ท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นดีขึ้น นอก จากผลดีทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีการ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนในท้องถิ่น
  ส่วนผลกระทบในทางลบ คือ อาจทำให้สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมจากการไม่ระมัดระวังของนักท่องเที่ยว หรือจากการขาดการวางแผนที่ดี ของหน่วยงานในท้องถิ่นในด้านการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้ทรัพยากรการ ท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลืองในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ ชุมชนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว ตั้งอยู่ อาจไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้รับโอกาสเข้าร่วมในการจัดการและการให้บริการ ผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ไปตกอยู่แก่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีเงินทุนมากและอยู่นอกแหล่งชุมชนนั้นๆ ส่วนชุมชนในท้องถิ่นกลับ ต้องประสบกับปัญหาต่างๆที่นักท่องเที่ยว นำเข้ามา เช่น ปัญหาการส่งเสียงดังรบกวนของนักท่องเที่ยว ปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาค่าครองชีพในท้องถิ่นสูงขึ้น
เพื่อลดผลกระทบในทางลบให้น้อยลง ได้เสนอให้มีทางเลือกใหม่ในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยอาศัยหลักการที่สำคัญ ๒ ประการ คือ ประการแรก ต้องเป็นการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประการที่ ๒ ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากหลักการ ทั้ง ๒ ประการนี้จึงเป็นที่มาของการท่องเที่ยว ในรูปแบบใหม่ นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ